บทความ : ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์ทโฟน PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช, อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม   
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 08:48 น.

สมาร์ทโฟนนั้นถือเป็นฝันที่เป็นจริงของคนบางกลุ่มในยุค 90’s (ค.ศ. 1990-2000) ยุคที่นักคอมพิวเตอร์ต้องขนคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ทั้งหนา ทั้งหนัก และทั้งช้าเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานปัจจุบันร่วมเดินทางไปทำงานในที่ต่างๆ ก่อนที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กแต่สามารถทำงานได้สารพัดอย่าง “สมาร์ทโฟน” ซึ่งนำโดย iPhone รุ่นแรกของบริษัทแอปเปิ้ล และเป็นที่มาของยุคที่ทุกคนต้องแสวงหาเพื่อที่จะมีสมาร์ทโฟนของตนเอง ดังที่นิยมเรียกยุคนี้กันว่า “ยุคแห่งสมาร์ทโฟน” (Smartphone Age)

 

 

นอกจากการที่สมาร์ทโฟนจะให้ความสะดวกในการทำงานเกินความคาดหมาย สมาร์ทโฟนได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างความสะดวกสบายที่มากขึ้นให้กับชีวิตประจำวันอีกด้วย ทำให้มีผู้ชื่นชอบเป็นจำนวนมาก และยังสร้างความสงสัยเป็นอย่างมากว่าการใช้สมาร์ทโฟนนั้นจะสร้างผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์หรือไม่ และหากมีผลกระทบจะมีผลกระทบทางบวกหรือลบอย่างไร

จากการสำรวจและศึกษาจากหน่วยงานที่หลากหลายพบตรงกันว่า การใช้สมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ดังผลสำรวจของบริษัทอีริคสัน (Ericsson) ที่ทำการสุ่มสำรวจชาวอินเดียอายุ 14-45 ปี จำนวนกว่า 5,000 คน สรุปว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้ชีวิตผูกติดกับข้อมูลที่ได้จากสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก จนทำให้มีเวลากับครอบครัวและผู้คนที่รู้จักน้อยลง และกว่า 1 ใน 3 ยอมรับว่าพวกเขามักจะลืมไปว่ามีผู้คนรอบข้างเมื่อพวกเขาใช้สมาร์ทโฟน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เพิ่งทดลองใช้สมาร์ทโฟนใหม่ๆ) ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางว่าหากสมาร์ทโฟนถูกพัฒนาให้มีความสามารถและสะดวกในการใช้งานมากขึ้นกว่านี้ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการใช้ชีวิตที่ปิดกั้นจากโลกภายนอก และผลการสำรวจชิ้นนี้ยังสร้างประเด็นความแตกต่างในเชิงการบริโภคข้อมูลข่าวสารมากขึ้นเรื่อยๆระหว่างผู้ใช้เพศชายและหญิงอันเนื่องมาจากการใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งพบได้จากสถิติการใช้งานของแอ๊ป (Apps) โดยสถิติผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพศชายใช้แอ๊ปเกี่ยวกับแผนที่มากกว่าผู้ใช้เพศหญิงอย่างมาก ในขณะเดียวกันผู้ใช้เพศหญิงใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสนทนาและส่งข้อความมากกว่าผู้ใช้เพศชายหลายเท่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้เพศหญิงใช้เวลาเล่นเกมส์ “แองกรี้เบอร์ด” (Angry Birds) มากกว่าผู้ใช้เพศชายถึงกว่าร้อยละ 50

นอกจากนี้ ผลกระทบพฤติกรรมรูปแบบใหม่อันเกิดจากการใช้ชีวิตที่ผูกติดสมาร์ทโฟน ก็เป็นประเด็นที่มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก จนได้มีการสำรวจที่ได้เสนอผลในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมาในชื่อ “โมบาย มายน์เซ็ท” (Mobile Mindset Study) ซึ่งจัดทำโดย เอาท์ลุค โมบาย ซีเคียวริตี้ (Outlook Mobile Security) ร่วมกับ แฮริส อินเตอร์แอคทีฟ (Harris Interactive) โดยได้อ้างถึงอาการ “แฟนทอม สมาร์ทโฟน ทวิชย์” (Phantom Smartphone Twitches) ที่ผู้ใช้สทาร์ทโฟนรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงสัญญาณโทรเข้าหรือรู้สึกโทรศัพท์สั่น ทั้งๆที่ไม่มีสมาร์ทโฟนอยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ผู้ใช้ยึดติดกับสมาร์ทโฟนของตนมากจนเกินไป จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงความกลัวที่จะมีชีวิตโดยขาดสมาร์ทโฟนของตน จากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีพฤติกรรมยึดติดการใช้สมาร์ทโฟนอย่างมากโดยมากกว่าร้อยละ 58 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้ตรวจสอบข้อมูลอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง และมากกว่าร้อยละ 73 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนรู้สึกตื่นตระหนกอย่างมากเมื่อสมาร์ทโฟนของตนหาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้เพศชาย) ขณะเดียวกันร้อยละ 6 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนรู้สึกหายกังวลเพราะไม่ต้องได้รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ เมื่อสมาร์ทโฟนของตนหาย พฤติกรรมยึดติดการใช้สมาร์ทโฟนอย่างมากยังนำมาซึ่งพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในการใช้สมาร์ทโฟน เช่น ร้อยละ 30 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนตรวจสอบข้อมูลในขณะทานอาหาร ร้อยละ 24 ขณะขับรถ และร้อยละ 10 ขณะเข้าพิธีทางศาสนา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ในวัย 18-34)

นอกจากผลกระทบในแง่ลบที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว สมาร์ทโฟนยังมีข้อดีในแง่ของการใช้งานและความสะดวกสบาย อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องขนอุปกรณ์มากมายในการเดินทางไปทำงานเหมือนแต่ก่อน ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนสามารถทำงานแทนที่อุปกรณ์ต่างๆมากมายเช่น คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ สมุดจดบันทึก เครื่องอัดเสียง เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นเกมส์ หรือแม้กระทั่งนาฬิกาปลุก จึงไม่น่าแปลกใจที่คนจำนวนมากยึดถือสมาร์ทโฟนของตนเป็นดั่งเพื่อนสนิท จึงทำให้พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนเปลี่ยนแปลงไป หากเราต้องการใช้สมาร์ทโฟนให้เกิดประสิทธิภาพโดยให้มีผลด้านลบกับตนเองน้อยที่สุด เราควรรำลึกเสมอว่าสมาร์ทโฟนเป็นเพียงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถหามาแทนได้หากสูญหาย และข้อมูลบนสมาร์ทโฟนของเรานั้นไม่ได้หายไปในเวลาอันสั้น แต่ข้อมูลดังกล่าวจะรอเราเมื่อเราสะดวกที่จะตรวจสอบในเวลาที่เหมาะสม และที่สำคัญที่สุดคืออย่าลืมว่าข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านทางสมาร์ทโฟนล้วนแต่นำเสนอโดยมนุษย์ทั้งนั้น ดังนั้นหน้าที่ที่แท้จริงของสมาร์ทโฟนคือ การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ให้มากขึ้น มิใช่ลดการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์อย่างที่เกิดขึ้นและกังวลกัน

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 08:49 น.
 
 
 
ankara escort ankara escort ankaya escort ankaya escort escort bayan ankaya istanbul rus escort eryaman escort ankara escort kızılay escort istanbul escort ankara escort ankara escort escort ankara istanbul rus Escort atasehir Escort beylikduzu Escort Ankara Escort malatya Escort kuşadası Escort gaziantep Escort izmir Escort